วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

การใช้เพลงประกอบการสอน


เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
                                    


       เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง,ทำนองดนตรี (ราชบัณฑิตสถาน,2542:799)
สนอง อินละคร (2544:108) กล่าวว่า เพลงเป็นกิจกรรมที่ผู้จัดให้กับนักเรียนได้เรียนรู้จากเนื้อหา ทำนอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นชีวิตและวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ อีกทั้งยังแนะนำสั่งสอนในด้านคุณธรรมอันเป็นแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้อีกด้วย นักเรียนจะได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานควบคู่กันไป

       ชัยวัฒน์ เหล่าสืบสกุลไทย (2549:16) อธิบายว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้องทำนองดนตรีที่เรากระทำขึ้นเพื่อสนนองความจ้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ตลอดจนเพื่อกิจกรรมทางสังคมอีกด้วย

       สรุปได้ว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน


ประโยชน์ของเพลงประกอบการสอน


       ในชีวิตประจำวัน เพลงช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้สนุกสนาน และสื่อความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์ เพลงเพื่อชีวิตหลายๆ เพลงสะท้อนปัญญาของสังคมหรือให้แง่คิดในการดำรงชีวิต เพลงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะให้คุณค่าด้านคุณธรรม เพลงประกอบการสอนก็เช่นเดียวกัน มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้  

      เจนเซน (Jensen, 2009:150) กล่าวถึงความสำคัญของดนตรีว่าหากครูนำมาใช้ในชั้นเรียนทำให้บรรยากาศการเรียนรู้มีมิตรภาพมากขึ้น และเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน


      สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์ (2550:29-30) กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอนจะช่วยทำให้บทเรียนน่าสนใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยสร้างแรงจูงใจให้แก่นักเรียนในการเรียน ช่วยให้จดจำเนื่อหาและประทับความรู้สึกไว้ได้นาน และช่วยทำให้บทเรียนดูง่ายขึ้น การใช้เพลงประกอบการสอนในระดับประถมศึกษามีประโยชน์มาก เพราะเด็กในวัยนี้ชอบเล่น ชอบแสดง ชอบร้องเพลง และนอกจากนี้ การใช้เพลงประกอบการสอนยังเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีระเบียบวินัย มีประสบการณ์กว้างขวางและช่วยสร้างสัมพันธภาพอย่างเป็นกันเองระหว่างครูกับนักเรียน



ลักษณะของเพลงประกอบการสอน

       ลักษณะของเพลงประกอบการสอนต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทเรียนหรือเกี่ยวกับการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่นักเรียน



      สุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป.:2) กล่าวถึงลักษณะของเพลงที่นำมาใช้ประกอบการสอน ดังนี้

          1.เป็นทำนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปาก

          2.แต่งเป็นบทร้อยกรองกลองสุภาพ หรือกาพย์ยานี11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิมที่สนุก

          3.มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง

          4.เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆไม่ยาวจนเกินไป

          5.เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด

          6.หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

ตัวอย่างเพลงประกอบการสอนวิชาภาษาไทย

๑.   เพลงไตรยางศ์    (ทำนองราซาซายัง)
                                      จงจำไว้เธอจ๋า                            เวลาเรียนอักษรไตรยางศ์ 
                          พยัญชนะมีเสียงต่าง ๆ                       จึงจัดวางสามหมู่นะเธอ
                                    อย่าละเมอเผลอไผล                 เสียงสูงไซร้มีสิบเอ็ดตัว  
                         เสียงกลางนั้นอย่าได้เมามัว                 มีเก้าตัวเสียงออกง่ายดาย
                                     อักษรที่เหลือนั้น                        เสียงของมันต่ำกว่าใคร ๆ 
                        เขาจัดไว้ยี่สิบสี่                                       จำให้ดีนะ..นี่ไตรยางศ์


 . เพลงเสียงในภาษาไทย    (ทำนองพม่าเขว/เพลงช้าง)
                       เสียง เสียง เสียง                   น้องเคยเรียนเสียงหรือเปล่า
             เสียงนั้นสำคัญไม่เบา                     ถ้าหากพวกเราสนใจๆ  เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
                      เสียง  เสียง เสียง                   เสียงแท้น้องรู้หรือเปล่า
            เสียงแท้ คือ สระ ของเรา                 ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
                      เสียง  เสียง เสียง                    เสียงแปรน้องรู้หรือเปล่า
            เสียงแปรพยัญชนะของเรา             ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน
                     เสียง  เสียง เสียง                     เสียงดนตรีน้องรู้หรือเปล่า
            เสียงดนตรี วรรณยุกต์ ของเรา       ถ้าหากพวกเราสนใจ ๆ เรียนได้ง่ายดายเหลือเกิน

 
๓. เพลงเสียงในภาษาไทย   (ทำนองพวงมาลัยของฉัน)
                                   เสียงในภาษาไทย                            มีเท่าไรรู้ไหมคนดี
                         เสียงแท้ เสียงแปร เสียงดนตรี  ๆ                  มีสามนะซี  คนดีจำไว้
                               เสียงแท้นั่นหรือจ๊ะ                           แทนเสียงสระโปรดจงแน่ใจ
                         เสียงแปร พยัญชนะนั่นไง ๆ                       เสียงดนตรีใช้แทนวรรณยุกต์เอย





                              ๔. เพลงอักษรต่ำ   (ทำนองแคนลำโขง)
                                     อักษรเสียงต่ำของไทย            รวบรวมไว้เป็นหมู่ด้วยกัน
                       นับดูโดยเร็วพลัน                             พวกของมันยี่สิบสี่ตัว
                       คน เป่า แคน  งูนอนส่ายหัว            ฆ ระฆัง ระรัว  
                       ช้าง  โซ่ขาดหนีไป                          ฟัน  ยักษ์  เรือ  ลิง   แหวน  ม้า
                       หญิง  โสภา  ฑ นางมณโฑ             สดใส  ฒ ผู้เฒ่า   ณ เณร เดินไม่ไกล
                       ฌ เฌอต้นไม้  ธงใส่พานมา            ท ทหาร  และ จุฬา  ภ สำเภาแล่นมา  
                        ฮ นก ฮูก ตาโต 
ที่มา : ความรู้ เพลง ภาษาไทย ทักษะทางภาษา หลักเกณฑ์ทางภาษา โดย ศน.อ้วน


ฟังเพลงและดาวน์โหลดไฟล์เสียง








           ๘. เพลงสระเสียงสั้น..ครูบันเทิง







อ้างอิง :
 อูมัยกือซง หะระตี. ๒๕๕๙. ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://umiakesung.blogspot.com/p/blog-page_84.html . ๙ ตุลาคม ๒๕๕๙.

ส่งเสริมการอ่านให้ลูกรัก ด้วยการอ่านนิทาน


การสอนอ่านนิทานมีความสำคัญอย่างไร ???     

       นิทานสำหรับเด็กจะเป็นสื่อทางภาษาที่ถ่ายทอดเรื่องราวตามจินตนาการของผู้เขียน ผ่านภาษาและตัวหนังสือที่เรียบเรียงอย่างบรรจงงดงาม การอ่านหนังสือนิทาน เด็กจะมีโอกาสเลือกอ่านตามความสนใจของตนเอง ตรงตามวัตถุประสงค์ของตนเอง จึงแตกต่างจากการอ่านจากตำราหรือแบบฝึกหัด (Textbook) นอกจากนี้หนังสือนิทานไม่มุ่งเน้นการสอนซ่อมเสริมหรือฝึกฝนเด็ก เด็กจึงมีความสุขที่จะเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อที่สนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ที่จะอ่านด้วยทัศนคติที่ดี หนังสือนิทานสำหรับเด็กจะมีลักษณะเด่นเหมาะสมกับการสอนอ่าน เพราะมีภาพที่เชื่อมโยงเรื่องราวกับภาษาที่เป็นสัญ ลักษณ์ให้เด็กเข้าใจความหมายเรื่องราวงานเขียนนั้นๆ การเล่านิทานจะนำเด็กไปสู่การอ่านได้ เพราะเด็กได้รับโอกาสพัฒนาทางภาษาดังนี้คือ
    
      ๑. ฝึกการฟัง เด็กจะสามารถจดจำชื่อ ลักษณะ ตัวละคร ความต่อเนื่องของเรื่องราว ที่ทำให้รู้จักคำศัพท์ใหม่ ขณะที่เด็กฟังเรื่องราวจากนิทานจะเกิดอารมณ์คล้อยตาม
    
      ๒. ฝึกการพูด เด็กได้ฝึกการพูดคำศัพท์ใหม่ๆ ข้อความบางตอน หรือบทคำคล้องจองง่ายๆจากนิทาน และการให้เด็กมีส่วนร่วมในการเล่า พูดซักถาม วิจารณ์นิทาน ตอบคำถามจากนิทาน หรือหัดเล่าเรื่องที่ตัวเองชอบ
   
      ๓. ฝึกการสังเกต ปกติเด็กเล็กๆชอบสงสัย มีคำถามว่า ทำไม อะไร อยู่เสมอ การตอบคำถามจะช่วยให้เด็กเชื่อมโยงเรื่อง ราวต่อไปได้ และสนใจที่จะอ่านสืบค้น




การสอนจากการอ่านนิทานมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร ???

   ๑. เด็กจะอ่านจากสิ่งที่มีความหมาย นิทานเป็นสิ่งที่แสดงเรื่องราวของชีวิต ผ่านตัวละครในหนังสือ มีอารมณ์และความ รู้สึกคล้ายคน แม้สิ่งนั้นในชีวิตจริงจะพูดไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช สิ่งต่างๆรอบตัว แต่สิ่งเหล่านั้นในโลกจินตนาการของเด็กคือสิ่งเดียวกันกับเด็ก การกระทำในนิทานจึงเป็นสิ่งที่เด็กรับรู้ได้

      ๒. เด็กจะสนใจฝึกฝนการอ่านยาวนาน การฝึกทักษะใดๆ จะต้องอาศัยเวลา และการกระทำซ้ำๆ เมื่อเด็กสนใจนิทาน การฝึกอ่านผ่านภาพและคำ จึงเป็นสิ่งที่สนุกสนานสำหรับเด็ก

      ๓. เด็กได้เรียนรู้และเกิดความรู้ลักษณะบูรณาการได้แก่ สาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งของ ตัวเรา บุคคล การอยู่ในสังคมผ่านเรื่องราวที่มีสัญลักษณ์ภาษา คือคำ ประกอบไปพร้อมๆกัน

     ๔. เด็กได้เรียนรู้ว่า การค้นหาความรู้จะเกิดจากการอ่าน และการอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตมีในนิทาน

    ๕. เด็กจะรู้สึกเพลิดเพลินจากเนื้อหาของนิทาน

    ๖. เด็กจะเกิดสมาธิจากการฟังนิทาน พร้อมๆกับการซึมซับความหมายของตัวหนังสือที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่ฟัง

    ๗. เด็กจะได้รับการขัดเกลาจิตใจด้วยคุณธรรม เข้าใจเรื่องความดีงามจากนิทานไปด้วย คำนามธรรม เช่น ความเมตตา ความรัก ความซื่อสัตย์ ฯลฯ จะเข้าใจง่ายขึ้นเมื่อเด็กฟังนิทาน ล้วนเชื่อมโยงไปสู่การอ่านที่จำรูปคำต่อไป

     ๘. นิทานทำให้เด็กได้ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ (ผู้เล่า) เด็กจะรู้สึกอบอุ่นและเกิดความมั่นคงทางจิตใจ

     ๙. เด็กจะเกิดความรู้สึกละเอียดอ่อน มองโลกในแง่ดี เพราะการจบเรื่องของนิทานสำหรับเด็ก จะจบลักษณะการแก้ปัญ หาได้สำเร็จ ทุกปัญหาแก้ได้ จบอย่างมีความสุข

    ๑๐. เด็กจะได้รับการพัฒนาภาษาด้านอื่นๆไปด้วย นอกเหนือจากการอ่าน เพราะขณะที่อ่านนิทาน เด็กจะได้ฟังเรื่องราว นำเรื่องราวไปถ่ายทอดเป็นภาษาพูดและเขียนต่อไปได้ ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน



พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะสอนลูกอ่านจากนิทานได้อย่างไร ???
    พ่อแม่สอนอ่านจากนิทานให้ลูกที่บ้านได้ โดยใช้กระบวนการสอนเช่นเดียวกับครูคือ ฝึกให้ลูกฟังนิทานมาตั้งแต่วัยทารก เช่น บทร้องเล่น บทกลอนสั้นๆ มีเนื้อสนุก จำง่าย พูดหรือท่องตามได้อย่างสนุกสนาน เช่น บทร้องจับปูดำ ขยำปูนา จับปูม้า คว้าปูทะเล ฯลฯ ต่อมาให้เด็กเห็นภาพประกอบการท่องหรือร้องบทกลอนเหล่านั้น พ่อแม่ควรจัดหาหนังสือหลากหลาย ให้เด็กได้เห็นภาษาภาพและตัวหนังสือ เด็กจะเชื่อมโยงเสียงเข้ากับภาพและตัวหนังสือ เมื่ออ่านหนังสือให้ลูกฟัง พ่อแม่ควรได้พูดสนทนากับลูก เรื่องชื่อหนังสือ (จากปก) ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้วาดภาพ (เช่นเดียวกับที่ครูแนะนำหนังสือให้เด็ก) เมื่ออ่านจบควรได้สนทนาเกี่ยวกับสาระของเรื่องที่อ่าน การอ่านมิใช่หยุดเพียงการจบเรื่องไปครั้งหนึ่งๆ แต่จะต้องจัดโอกาสอ่านซ้ำครั้งที่สองและครั้งต่อๆไป การอ่านครั้งที่สอง จะอ่านพร้อมการชี้คำให้เด็กเห็น เพื่อดึงความสนใจของเด็กมาสู่การอ่าน หากมีภาพ คุยเรื่องราวในภาพประกอบได้ เพื่อสร้างความเข้าใจภาษามากขึ้น คำใดที่เด็กต้องการอ่านซ้ำ ก็หยุดอ่านซ้ำได้ สิ่งสำคัญขณะสอนอ่าน ควรมีบรรยากาศของความสุข สร้างความเพลิดเพลินจากการอ่าน ให้เด็กมีความรู้สึกได้ว่า หนังสือคือที่มาของความสุข อ่านได้ อ่านออก เป็นเรื่องไม่ยาก แต่ต้องขยันอ่าน อ่านมาก รู้มาก นอกเหนือจากเวลาที่จัดเพื่อการฟังนิทานและอ่านนิทานแล้ว พ่อแม่หาโอกาสพูดสนทนากับลูกเกี่ยวกับหนังสือนิทานที่น่าสนใจ น่าอ่านในเวลาที่อยู่ร่วมกัน เช่นเวลารับ ประทานอาหาร เวลาไปร้านหนังสือ เวลานั่งพักผ่อนหัวค่ำด้วยกัน พ่อแม่และครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการอ่านให้แก่เด็ก เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก เป็นผู้ที่เด็กให้ความรัก ความไว้วางใจ ส่วนนิทานเป็นสิ่งที่เด็กทุกคนรักและชอบ ทั้งสองประการนำมาประกอบกันให้เป็นสื่อ สร้างความสนใจในการอ่านแก่เด็กได้เป็นอย่างดี




  • ตัวอย่างการอ่านนิทาน





    สื่อนิทานส่งเสริมการอ่าน





    อ้างอิง : บุบผา เรืองรอง. ๒๕๕๙. สอนอ่านจากนิทาน (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://taamkru.com/th/สอนอ่านจากนิทาน/ . ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙.

    สร้างนิสัยรักการอ่าน