การสร้างนิสัยรักการอ่าน
1. เริ่มจากการหาหนังสือ วารสาร นิตยสาร สิ่งพิมพ์ ในประเภทที่ตนเองชอบ หรือ สนใจมาเป็นตัวเริ่มต้น เช่น นิตยสารดารา นวนิยายเด็ก หนังสือพิมพ์ วารสารท่องเที่ยว นิตยสารกีฬา เป็นต้น รวมถึงเว็บไซต์ข้อมูลหรือบทความต่างๆที่มีเนื้อหาที่ตนสนใจ เพราะหากเราเริ่มจากสิ่งที่ตนเองรักชอบเป็นพิเศษ จะทำให้อยากอ่าน และทนอ่านได้นาน
2. เมื่อเริ่มต้นฝึกนิสัยการอ่าน จะพบว่าตนเองอ่านได้ไม่เร็วนัก เนื่องจากขาดการฝึกฝนมานาน บางคนอ่านย้อนไปย้อนมา หรือ อ่านเป็นคำๆ ทำให้อ่านได้ช้า แต่เมื่ออ่านสิ่งที่ตนสนใจบ่อยๆ ก็จะทำให้สามารถอ่านได้คล่องขึ้นและเร็วขึ้น ทักษะด้านการอ่านเร็วนั้น ต้องค่อยๆพัฒนาจากการอ่าบ่อยๆโดยฝึกตนเองให้อ่านทีละประโยค ไม่ใช่ทีละคำ และอ่านรวดเดียวจนจบย่อหน้า อย่าอ่านย้อนประโยคไปมา เมื่ออ่านจบย่อหน้าหากไม่เข้าใจค่อยย้อนมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้นย่อหน้ารวดเดียวจนจบซ้ำอีกครั้ง จึงจะได้ความคิดรวบยอดของย่อหน้านั้น
3. เมื่ออ่านหนังสือประเภทที่ตนชอบจนเริ่มคล่องแล้ว ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักชอบอ่านหนังสือแนวบันเทิง ก็ขยับขยายมาเป็นหนังสือแนวอื่นที่อาจเป็นแนวสาระมากขึ้น แต่ยังเป็นสาระที่ตนเองสนใจเป็นการส่วนตัวอยู่ เช่น คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี การเงินส่วนบุคคล จิตวิทยาการพัฒนาตนเอง เป็นต้น เพราะหนังสือแนวนี้จะช่วยพัฒนาความรู้ความคิดให้แก่ผู้อ่านได้มาก
5. พัฒนานิสัยรักการอ่านมาสู่จุดที่ มีหนังสือติดตัว ติดรถ หรือ ติดกระเป๋า ไว้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่มีเวลาว่า หรือ กำลังนั่งรออะไรก็ตาม ก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านทุกครั้งไป เป็นการฆ่าเวลา และได้ความรู้ไปด้วย ทำให้ไม่ต้องห่วงว่า ไม่ว่าง ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เหมือนกับข้ออ้างของคนส่วนใหญ่ เพราะคุณสามารถอ่านได้ทุกช่วงเวลาสั้นๆที่มี
7. ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจบ ควรต้องทบทวนดูสารบัญ อีกรอบเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดว่า โดยรวมแล้ว หนังสือเล่มนั้นพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง และ ที่สำคัญที่สุดคือ มีประเด็นใดบ้างที่เราได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนั้นจากที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือ ไม่เคยให้ความสำคัญกับประเด็นนั้นมาก่อน และ จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เอาซัก 1-2 เรื่องก่อนก็เพียงพอแล้ว เพราะบางแนวคิดในหนังสือดีๆ เพียง 1-2 เรื่อก็อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อ่านบางคนไปได้ตลอดไปเลยทีเดียว อีกทั้งความรู้สึก "ปิติ" มีความสุขที่ได้ "รู้" หรือ เกิด "ปัญญา" ขึ้นจากการอ่าน อีกทั้งยังนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ในเรื่องใหม่ๆ ก็จะยิ่งทำให้มีแรงบัลดาลใจให้อยากอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติดนิสัย "รักการอ่าน" ในที่สุด
8. ทดลองนำความรู้ที่ได้รับจากหนังสือ ไปปฏิบัติดูในชีวิตประจำวัน เช่น หากอ่านเทคนิคการทำกับข้าว ก็ลองนำบางเมนูอาหารไปทำจริงๆดู หากอ่านเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็ลองนำไปทำกับคอมพิวเตอร์จริงๆ หากอ่านเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล ก็นำไปใช้บริหารการเงินของตนเองจริงๆ หากอ่านเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ก็ลองหาโอกาสไปเที่ยวสถานที่นั้นๆดู หากอ่านเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ก็นำไปฝึกนั่งสมาธิเอง หากอ่านเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ก็เริ่มออกกำลังกายตามคำแนะนำในหนังสือดู เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง จะทำให้ท่านรู้สึกสนุกกับการอ่านมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าอ่านแล้วได้นำไปใช้จริง
9. เมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้นในชีวิต ให้เริ่มต้นจากการเข้าร้านหนังสือ เข้าห้องสมุด หรือ เข้าอินเตอร์เน็ต ค้นหาดูซิว่ามีใครเคยเขียนเกี่ยวกับปัญหาเดียวกับที่เรากำลังพบเจอมาก่อนหรือไม่ หากพบก็ "อ่าน" มันซะ เพื่อดูว่าเขามีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร จัดการกับปัญหาให้ลุล่วงได้อย่างไร เพื่อเราจะได้นำไปประยุกต์ใช้บ้าง และ ในหลายๆครั้ง ท่านจะพบว่า ปัญหาเกือบทุกปัญหา ที่คนทั่วไปพบอยู่นั้น เคยมีคนอื่นพบเจอแบบเดียวกันมาแล้ว และเขาหาทางแก้ไขปัญหาได้แล้ว อีกทั้งยังได้เขียนวิธีแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เพียงแต่เรายอมค้นคว้าหา "อ่าน" แค่นั้นเอง ปัญหาที่เผชิญอยู่ก็จะถูกแก้ไปได้อย่างง่ายดาย โดยอาศัยภูมิปัญญาของผู้อื่น ทำให้ไม่ต้องลองผิดลองถูกเองมากเกินไป หรือ มัวแต่มานั่งกลุ้มใจกับปัญหาที่ตนเองแก้ไขไม่ตก แต่คนอื่นแก้ตกไปนานแล้ว อีกต่อไป
อ้างอิง : ชุติมาศ มีมั่น. ๒๕๕๙. การสร้างนิสัยรักการอ่าน(ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://porn0916601476.blogspot.com/2014/09/blog-post.html . ๙ ตุลาคม ๒๕๕๙.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น